บทความ

คุณเป็นผู้นำหรือผู้ตาม?

รูปภาพ
ในองค์กรหนึ่งๆ มองเผินๆ อาจมองได้ว่าประกอบด้วยผู้นำและผู้ตามปะปนกันไป ผู้นำอาจจะมองว่าหมายถึง ผู้บริหารองค์กร หรือ หัวหน้างาน ส่วนผู้ตามก็คือลูกน้อง แต่แท้จริงแล้ว ในแต่ละปัจเจกบุคคล มีภาวะผู้นำและผู้ตามทั้งสองอย่างอยู่ในตัวเอง คนๆ หนึ่งเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม ก็ได้ เช่น เป็นหัวหน้าทีม ดูแลลูกน้องจำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นลูกน้องของผู้บริหารในระดับที่สูงกว่าอีกที อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าภาวะผู้นำในตัวคนๆ หนึ่งมีมาก ก็มีแนวโน้มว่าจะได้เป็นผู้นำในระดับสูงยิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าภาวะผู้ตามมีมากกว่า ก็มีแนวโน้มว่าจะเล่นบทบาทเป็นสมาชิกทีมมากกว่า หรือ ทำงานในแบบฉายเดี่ยวมากกว่า อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้นำไม่ได้หมายความว่าดีกว่าเสมอไป และ การเป็นผู้ตามก็ไม่ได้หมายความว่าจะด้อยกว่า หรืออนาคตอาชีพการงานจะตัน หรือว่ามีรายได้น้อยกว่า บ่อยครั้งในหลายๆ อาชีพ ที่บุคลากรไม่จำเป็นจะต้องเป็นหัวหน้า มีลูกทีมมากมาย ก็สามารถประสบความสำเร็จในระดับสูง รวมถึงมีรายได้สูง ตัวอย่าง เช่น อาชีพที่ใช้ฝีมือ ความสามารถเฉพาะตัว เช่น แพทย์, ศิลปิน, ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย, นักเขียน, โปรแกรมเมอร์, นักออกแบบ เป็นต้น อาจ

ขับรถในประเทศไทยอันตรายที่สุด

รูปภาพ
https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-06-19/add-traffic-to-the-risks-of-being-in-emerging-markets-chart เรื่องนี้พูดกันมานาน ไม่เห็นจะผลักให้เป็นวาระแห่งชาติ จริงๆ สักที มันสำคัญนะครับ เสนอไอเดีย 1. ผลักดันให้ใช้มอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดภายใน 3 ปี แบบที่เมืองจีน เสียงก็เงียบ ขับได้ไม่เร็วมาก (น่าจะไม่เกิน 55 กม. /ชม.) ในเมื่อขับได้ไม่เร็ว อุบัติเหตุก็เกิดยาก ไฟฟ้าลดมลภาวะทางเสียงด้วย รัฐบาลคงต้องช่วยเอกชนที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์ไซต์ในปัจจุบันว่าเราจะไปยังจุดนั้นได้อย่างไร https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-06-19/add-traffic-to-the-risks-of-being-in-emerging-markets-chart 2. บังคับใช้กฎจราจรอย่างจริงจัง ติดกล้องจับปรับ ทั่วประเทศ ขับเร็ว เปลี่ยนเลนเส้นทึบ ปาดคอสะพาน ไม่ใส่หมวกจอดขาวแดง คนนั่งท้ายรถกระบะ ฯลฯ ครั้งละ 400 ชำระง่ายๆ ที่ 7-11 อย่าให้ลึกบาก และปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละนิดอย่าปรับโหดเกิน (เค้าก็วิ่งเต้นกัน) หรือ ลำบากเกิน (เค้าไม่สะดวกไปจ่าย) ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยไม่เปลืองแรงเจ้าหน้าที่สักนิด และมีรายได้จากผู้กระทำผิด อีกต่างหาก มาตรกา

อ่านผลตรวจเลือดด้วยตนเอง

แปะเก็บไว้ อ่านผลตรวจเลือดด้วยตนเอง (ควรจัดพิมพ์เก็บเอาไว้อ่านเทียบกับผลตรวจสุขภาพประจำปีนะครับ) โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ วันนี้ผมจะรวบยอดสอนการแปลผลการตรวจเคมีในเลือดให้ฟัง ท่านที่ถามมาคล้ายกันแต่ว่าผมไม่ได้ตอบก็ขอให้เอาวิธีแปลผลที่คุยกันวันนี้ไปแปลผลการตรวจของท่านเอาเองก็แล้วกัน 1. Blood chemistry แปลตรงๆว่าเคมีของเลือด หมายถึงระดับของสารต่างๆที่อยู่ในเลือดซึ่งก่อปฏิกิริยาเคมีได้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสารเหล่านี้ บ่งบอกไปถึงว่าจะมีโรคอะไรเกิดขึ้นในร่างกายบ้าง  2. FBS = ย่อมาจาก fasting blood sugar แปลว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังการอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เป็นการตรวจสถานะของโรคเบาหวานโดยตรง คือคนปกติค่านี้จะต่ำกว่า 100 mg/dL ถ้าของใครสูงเกิน 125 ก็ถือว่าเป็นเบาหวานแล้วอย่างบริบูรณ์ 3. HbA1C = ย่อมาจาก hemoglobin A1C แปลว่าระน้ำตาลสะสมเฉลี่ยสามเดือนในเม็ดเลือดแดง มีความหมายคล้ายๆกับค่า FBS คือโดยคำนิยาม ถ้าน้ำตาลสะสมเฉลี่ยของของใครสูงกว่า 6.5% ก็ถือว่าเป็นโรคเบาหวานไปแล้วอย่างบริบูรณ์ ค่า HbA1C นี้ดีกว่าค่า FBS ในสองประเด็น คือ 3.1 ทำให้เราตรวจคัดกรองเบา

วิกฤตไม่เป็นโอกาส #2

ต่อเนื่องจาก post ที่แล้ว ขอขยายความว่า สิ่งที่ผมเสนอ ชัดๆ คือ ให้มีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อันจะก่อให้เกิดธุรกิจบริการออนไลน์ของไทยที่แข่งขันได้กับยักษ์ใหญ่ต่างชาติ ระยะเวลาการคงสภาพแวดล้อมดังกล่าว ไม่นาน ประมาณ 3-5 ปี ผลลัพธ์ที่คาดหวัง มีธุรกิจบริการออนไลน์ของไทยมาเข้าร่วมช่วงต้นโครงการสัก 20 บริการ เมื่อจบโครงการ มีเหลือรอดไปแข่งขันได้ในระดับโลกสัก 3 บริการ ก็น่าพอใจแล้ว ผมไม่ได้เสนอให้ ภาครัฐเอาเงินภาษีประชาชนมาพัฒนาบริการเองนะครับ ไม่ว่าจะทำเอง หรือ ตั้งงบจ้างทำ แบบนั้นคงอยู่รอดอยาก หมดเงินก็หมดกัน ผมไม่ได้เสนอให้ เลือกเอกชนรายใดรายหนึ่งมาลงขันเงินให้ทำ เพราะมันจะไม่เกิดการแข่งขัน ต้องให้รอดจากการแข่งขันด้วยตัวเอง ขอแค่สภาพแวดล้อมในการแข่งขันให้เค้าแข่งได้ก็พอ ผมแค่เสนอให้ภาครัฐ หรือ สมาคมธุรกิจใหญ่ๆ ร่วมกันสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้ ตัวอย่างของสิ่งที่อยากให้มีในสภาพแวดล้อมนี้ ก็คือ ภาครัฐและองค์กรเหล่านั้นจะสนับสนุนธุรกิจที่อยู่ในโครงการ โดยจะเลือกใช้บริการก่อน บริการต่างชาติ เช่น จะโปรโมตสนับสนุนให้ลูกค้ารวมถึงบุคลากรของตนเอง ใช้ บริการของไ

วิกฤตไม่เป็นโอกาส

รูปภาพ
จิบกาแฟยามเช้าวันเสาร์ 29 ส.ค.58 พร้อมหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ เหลือบไปเห็นข่าวนี้ จับใจความได้ว่า สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยฯ เค้าว่า ผู้ใช้ชาวไทยมีการบริโภคเนื้อหาจากต่างประเทศถึง 60% ก็คงพวก facebook, youtube ต่างๆ นานาที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันอยู่ทุกวัน อย่างเยอะด้วย ดังนั้นก็อยากจะเสนอรัฐบาลให้ดึงดูดพวกบริการต่างประเทศเหล่านี้ ให้มาตั้งระบบที่เมืองไทย  แทนที่จะเป็นที่สิงคโปร์หรือมาเลเซียในปัจจุบัน ซึ่งทำให้บริษัทโทรคมฯ ต้องเสียเงินต่อค่าอินเทอร์เน็ตไปหาประเทศเหล่านี้เยอะมาก ซึ่งก็ต่อเนื่องทำให้ประชาชนต้องเสียค่าใช้อินเทอร์เน็ตแพงอีกทอด ถ้าเนื้อหาต่างๆ อยู่ในประเทศได้ก็ค่าใช้จ่ายตรงนี้ก็จะลดลง มาตรการที่จะดึงต่างๆ ก็พวกใช้ให้ประโยชน์ด้านภาษี หรือ เงื่อนไขอะไรต่างๆ ก็ให้มันสะดวกขึ้น รวมถึงความมั่นคง อย่าไปเข้มงวดกับเค้ามาก ฯลฯ​ ทำไงให้เค้าอยากมา อ่านในแว๊บแรกผมก็รู้สึกว่า ฟังดูดีงาม มาก เราๆ ท่านๆ ก็จะจ่ายค่าเน็ตน้อยลง, เค้ามาลงทุน ก็เกิดการจ้างงาน การใช้ง่าย แต่คิดให้ลึกลงไปอีกนิด บริการอย่าง facebook, youtube ประชาชนเราใช้ฟรี เสพข้อมูลกันกระห

สำนัก Project X แห่งชาติ

ผมเคยตั้งคำถามว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยที่ใครเรียกว่าเป็น ดีทรอยท์แห่งเอเชีย แล้วทำไมไม่เห็นมีรถยนต์ยี่ห้อของไทยสักยี่ห้อ? สอบถามคนในวงการก็ได้รับแต่คำตอบว่า โอ ขนาดนั้นมันยาก ไม่ทันแล้ว คนไทยไม่ไหว ทำไม่ได้หรอก ฯลฯ  เราเป็นได้แค่ฐานรับจ้างการผลิตให้ต่างชาติ กำไรส่วนบนสุดนั้นบริษัทเจ้าของยี่ห้อเอาไป เหลือให้เราแค่ค่าแรงขั้นต่ำๆ ก็โอแล้วล่ะ จริงหรือ? เหลียวมองมาวงการไอที ถามว่า ตั้งแต่เช้ามาท่านได้ใช้ผลิตภัณฑ์ IT อะไรของคนไทยบ้างครับ ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ก็ได้ คิดเป็นกี่ % ของทั้งหมดที่ใช้ในแต่ละวัน เกิน 10% มั้ย? ขอพาดพิงถึงโครงการดิจิทัลอีโคโนมีอีกครั้ง ผมได้มีโอกาสไปร่วมระดมสมองอยู่ครั้งหนึ่ง คุยๆ ในกลุ่มจับใจความได้ว่า เราก็ตั้งเป้าให้ภายใน 3 ปี ทุกหน่วยงานมี IT ใช้กันกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ แค่นั้นเองหรือครับ? ถ้าแค่จะใช้เทคโนโลยี ไม่ต้องถึงกับตั้งกระทรวงใหม่มั้ง ทุกวันนี้ภาคเอกชน ภาคปัจเจกชน เค้าใช้เทคโนโลยีกันเก่งจะแย่  ทำไมกรอบความคิดก็ยังอยู่ที่ คนไทยเป็นได้แค่ผู้ใช้ หรือ อย่างดีก็เอามา customize เล็กๆ น้อยๆ ปลายน้ำ เท่านั้น โครงการระบบราง

เราสามารถโพสต์ blogger ทาง e-mail ได้

รูปภาพ
โดยไปตั้งค่าไว้ก่อนว่าถ้าส่งถึง callmeott.xxxxxx@blogger.com จะเข้าเป็น Post ฉบับร่างให้เลย ข้อดีคือ เขียนใน gmail ซึ่งสามารถแปะรูปจาก clipboard ได้ง่ายๆ (cut&paste) (เขียน blog มันเหนื่อยตอน upload รูป)

Digital Economy ของใคร?

โทรศัพท์มือถือ Smartphone สงครามเหลือแค่ระหว่างสองตระกูลหลัก แอนดรอยด์และไอโฟน จากอเมริกาทั้งคู่ ไอโฟนเครื่องก็ทำโดย Apple อเมริกา ส่วนแอนดรอยด์เครื่องส่วนใหญ่น่าจะจากเมืองจีน ไม่ก็เกาหลี Samsung, LG ไม่ก็ไต้หวัน Asus นั่งทำงานเบื่อๆ หรือ ยังไม่เบื่อ เราก็เช็ค facebook ของอเมริกา ติดต่อสื่อสารก็แน่นอน ต้อง LINE จากบริษัทเกาหลีในญี่ปุ่น ประชาชนอย่างเราก็ซื้อสติกเกอร์กันสนุกมือ ล่าสุดมี LINE Pay ด้วยจ่ายเงินซื้อของโน่นนี่ สะดวกสบาย องค์กรภาครัฐภาคเอกชน จะให้เท่ห์ก็ต้องทำ LINE สติกเกอร์ขององค์กรหน่อย ไว้แจกขำๆ แสนเบื่อเรียกรถแท็กซี่ทีไรก็ไม่ไป ก็ไปใช้ GrabTaxi สิ (มาเลเซีย) มีตังค์หน่อยก็ Uber (อเมริกา) มันช่างแสนสะดวก ไปเที่ยวพักผ่อนทำยังไงดี จองโรงแรมก็ต้อง Agoda (อยู่ในเครือ Priceline ของอเมริกา?) หรือ ใหม่ล่ามาแรงก็จองผ่าน Airbnb ประหยัดกว่า และใครมีห้องพักคอนโดว่างๆ ก็ไปฝาก Airbnb ไว้ หารายได้เสริม จับจ่ายใช้สอยเดี๋ยวนี้ก็ต้อง E-Commerce อยู่บ้านคลิกๆ ของก็มา Lazada (เยอรมัน?) แสนสะดวกสุดๆ หรือว่าจะ Tarad (ญี่ปุ่น?) ดี ธุรกิจจะลงโฆษณาออนไลน์ ยุคนี้จะมีอะไรสะดวกไปกว่าลงกั