Open Source QUIZ ประจำวัน

สืบเนื่องจากมีประเด็นเรื่องความรู้ความเข้าใจใน Open Source (OSS), เรามาลองทดสอบความรู้เรื่องนี้กันหน่อยไหมครับ มี 5 ข้อเอง

  1. ซอฟต์แวร์ Open Source นับเป็นทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่?
    • ก. ไม่เป็น. With Open source, there is no intellectual property. Anyone can use it and all your ideas become public domain.
    • ข. เป็น. ซอฟต์แวร์ Open Source นั้น ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา และมีเจ้าของซึ่งก็คือคนเขียนนั่นเอง นอกเหนือว่าเจ้าตัวจะยกสิทธิให้คนอื่น ที่เราสามารถใช้ซอฟต์แวร์ Open Source กันได้ฟรีๆ ก็ เพราะว่าเจ้าของได้ อนุญาต ให้เราใช้ได้ (และแก้ไขได้ และเผยแพร่ต่อได้ หรืออะไรก็แล้วแต่อื่นๆ) โดยการระบุไว้ในเอกสารที่เรียกว่าสัญญาอนุญาต หรือ LICENSE ที่มากับตัวซอฟต์แวร์ ครับ ไม่ใช่ว่าคนเขียนเ OSS เสร็จแล้วปั๊บกลายเป็นของสาธารณะหรือ public domain ใครจะเอาไปปู้ยี่ปูยำยังไงก็ได้
  2. ซอฟต์แวร์ OSS ทำแล้วถ้าหาเงินไม่ได้ สุดท้ายก็การพัฒนาก็ต้องหยุด และซอฟต์แวร์ก็ต้องล้าสมัย พูดงี้ถูกไหม?
    • ก. ถูกต้องแล้ว. If nobody can make money from it, there will be no development and open source software quickly becomes outdated.
    • ข. จะว่าถูกก็ถูก แต่ไปเหมารวมอย่างนี้ไม่ดี. ถ้าเป็นซอฟต์แวร์ปกปิด source (proprietary software) ทั่วไป ล่ะก็ใช่ ถ้าทำแล้วขายไม่ได้ การพัฒนาก็ต้องหยุด และซอฟต์แวร์ก็จะล้าสมัย. แต่ OSS นั้นมีประเด็นต้องชี้แจงอยู่สามประเด็นครับ
      • ประเด็นแรก จริงๆ แล้ว OSS ก็ขายได้ เพียงแต่ถ้าคิดแค่ตื้นๆ จะมองว่า OSS ขายยาก, จะขายได้ยังไงก็ source code มันเปิดแผ่หลาอยู่นี่. คำตอบก็คือมันมี business model อื่นๆ ที่จะหาทางขายได้ เช่น ขาย service ขาย support ขาย value-added products ที่สร้างจาก OSS อีกทีสำหรับลูกค้ากลุ่มนั้นๆ. อันนี้คงต้องลองศึกษาดูว่า บริษัทใหญ่ๆ อย่าง RedHat, MySQL หรือ SuSE/Novell นั้นอยู่ได้อย่างไร
      • ประเด็นที่สอง OSS ตายยากกว่า ซอฟต์แวร์ OSS นั้น คนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เจ้าของ สามารถเปิดดู source code, นำไปปรับปรุงแก้ไข และเผยแพร่ต่อได้ในอนาคต ดังนั้น ถ้าเทียบกับ proprietary software, ซอฟต์แวร์ OSS มีโอกาสอยู่รอดดีกว่าซะอีก เพราะในกรณีที่ทำเงินไม่ได้ ส่งผลให้นักพัฒนาคนเดิมเลิกทำ, คนอื่นก็สามารถเข้ามาพัฒนาต่อยอดได้ , ถ้าเป็น proprietary software บริษัทเจ๊งไปแล้ว, source code หายไปกับบริษัท ถามว่าการพัฒนาก็จะหยุดและซอฟต์แวร์ก็ตายไปเลยแบบกู่ไม่กลับ ใช่หรือไม่
      • ประเด็นที่สาม OSS นั้นไม่ได้โตด้วยเงินเท่านั้น นักพัฒนา OSS นั้น แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นprogrammer อาชีพ หรือเป็น programmer ที่ทำงานในบริษัทเอกชนเลยมีเงินเดือน แต่ก็มีอีกจำนวนมากที่เป็นนักพัฒนาอิสระ เขียนโปรแกรมในเวลาว่าง เป็นนักเรียน, อาจารย์ เป็นนักวิจัยก็มี, ดังนั้นมันไม่ใช่แค่เงินเท่านั้น ที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงวงการ OSS ต่อให้ไม่มีเงิน บาง project ก็ยังอยู่รอดได้ เพราะคนเหล่านี้
  3. OSS ซอฟต์แวร์ก็มีดีแต่ Linux ที่เหลืออย่างอื่นส่วนใหญ่ห่วยๆ เจ๊งๆ ใช่ไหม
    • ก. ถูกต้อง. Apart from Linux, most open source software is often abandoned and not developed, and leads to a lot of low-quality software with lots of bugs.
    • ข. ไม่ถูกต้อง. นอกเหนือจาก Linux แล้วยังมี OSS อีกจำนวนมาก (ไม่ใช่แค่สองสามตัว ขอย้ำ) ที่มีการพัฒนาเติบโต, มีการใช้งานในวงการธุรกิจอย่างแพร่หลาย, และมีคุณภาพสูง ยกตัวอย่างคร่าวๆ ก็มี Firefox (WWW browser), Apache (WWW server), MySQL (Database), PostgreSQL (Database), PHP (WWW programming), Mambo (CMS), Drupal (CMS), GNOME (desktop environment), KDE (desktop environment), X.org (GUI window system) , GRASS (GIS), Squid (HTTP proxy)
  4. OSS มีความสำคัญต่อประเทศไทยไหม
    • ก. ไม่มีหรอก. As a programmer, if I can write good code, why should I give it away? Thailand can do good source code without open source."
    • ข. สำคัญสิ. คำถามง่ายๆ ประเทศไทยโดยลำพังมีปัญญาเขียนซอฟต์แวร์ที่มันใหญ่ๆ หน่อยออกไปแข่งในตลาดโลกไหม. อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์บ้านเราแข็งเกร่งขนาดไหน. แล้วถ้าสู้ไม่ได้จะก้มหน้าก้มตาใช้ผลิตภัณฑ์ราคาแพงจากต่างชาติไปตลอดไปเลยเหรือ. แล้วจะไปรังเกียจวิธีต่อยอดโดยเริ่มพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่าง OSS ที่เปิดให้คนร่วมแก้ไขร่วมพัฒนาไปทำไมล่ะครับ. ที่ตอบดังนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างจะต้องเป็น OSS ให้เลิกใช้ proprietary software ไม่ใช่ครับ. ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งจำเป็นต่อโลก และทำให้โลกของเราดีขึ้น. ประเด็นอยู่ที่เพียงแค่ว่า มีเหตุผลอันใดที่จะไปปฏิเสธ OSS เล่า? Open Letter "แม้จะไม่สนับสนุน ก็ไม่ควรเกิดการรบกวนการทำงาน"?
  5. ซอฟต์แวร์ OSS ที่พัฒนากันอยู่โครงการ 1-2 คน ทำแล้วไม่น่าไปรอด พูดงี้ถูกไหม?
    • ก. ถูกต้อง ซอฟต์แวร์ OSS ที่พัฒนากันอยู่โครงการ 1-2 คน มีปัญหาตามคำตอบข้อ ก. ข้างต้นทั้งหมด
    • ข. เหมารวมแบบนี้ไม่ถูก. จริงๆ แล้วซอฟต์แวร์ OSS ที่พัฒนากันอยู่โครงการ 1-2 คน นั้น มีโอกาสรอดมากกว่าซอฟต์แวร์ proprietary ที่พัฒนากันอยู่ 1-2 คนซะอีก เพราะว่าสำหรับ OSS เราสามารถต่อยอดงานที่คนทำมาแล้วได้ ดังนั้น แค่ 1-2 คน ก็สามารถสร้างสรรค์อะไรได้ อย่าไปดูถูก เพราะว่าเขายืนอยู่บนไหล่ของคนอีกหลายคน ไม่ต้องทำสิ่งที่คนเหล่านั้นทำมาแล้ว สามารถเดินหน้าต่อได้เลย. ซอฟต์แวร์ proprietary ที่ทำกัน 1-2 คนต่างหาก ที่น่าห่วงมากกว่า.

อยากให้ประเทศไทยก้าวไกลไปข้างหน้าครับ ผมคิดว่า OSS เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งถ้าเรามาทำความเข้าใจ และนำมาใช้รวมถึงพัฒนาต่อยอดอย่างถูกทาง ก็จะช่วยในการพัฒนาประเทศของเราได้ ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีปิดหรือเปิดอื่นๆ ครับ

อ่านคำอธิบายฉบับละเอียดได้ที่ Open Letter โดยคุณเทพพิทักษ์ครับ

ความคิดเห็น

NOI กล่าวว่า
ซอฟต์แวร์ OSS ที่พัฒนากันอยู่โครงการ 1-2 คน นั้น << ดู The Gimp ดิครับ :) เริ่มจากนักศึกษายังเรียนไม่จบเลย แล้วทุกวันนี้เจ๋งมะ ;)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุณเป็นผู้นำหรือผู้ตาม?

ขับรถในประเทศไทยอันตรายที่สุด

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒